วันพุธที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

คำเป็น คำตาย


       คำเป็น  คำตาย  เป็นการจำแนกคำตามลักษณะที่ใช้ระยะเวลาออกเสียงต่างกัน  ซึ่งลักษณะดังกล่าวจะทำให้คำที่มีเสียงพยัญชนะต้นเป็นรูปเดียวกัน  มีเสียงวรรณยุกต์ต่างกัน  ตัวอย่างเช่น  คา  เป็นอักษรต่ำ  คำเป็น  พื้นเสียง*  เป็นเสียงสามัญ

ส่วน  คะ  เป็นอักษรต่ำคำตาย  เสียงสั้น  พื้นเสียงเป็นเสียงตรี

                คำเป็น  ได้แก่  คำที่มีลักษณะ  ดังต่อไปนี้

๑.   คำที่พยัญชนะประสมกับสระเสียงยาวในแม่  ก  กา  เช่น  มา  ดู  ปู  เวลา  ปี  ฯลฯ

๒.  คำที่พยัญชนะประสมกับสระ  ำ    ใ -  ไ -  เ า  เช่น  จำ  น้ำ  ใช่  เผ่า  เสา  ไป  ฯลฯ

๓.  คำที่มีตัวสะกดอยู่ในแม่  กง  กน  กม  เกย  เกอว  เช่น  จริง  กิน  กรรม  สาว  ฉุย  ฯลฯ

                คำตาย  ได้แก่  คำที่มีลักษณะ  ดังต่อไปนี้

๑.   คำที่พยัญชนะประสมกับสระเสียงสั้นในแม่  ก  กา  เช่น  กะทิ  เพราะ  ดุ  แคะ  ฯลฯ

๒.  คำที่มีตัวสะกดในแม่  กก  กบ  กด  เช่น  บทบาท  ลาภ  เมฆ  เลข  ธูป  ฯลฯ

 สรุป

                วิธีพิจารณา

                                ๑)    ให้สังเกตที่ตัวสะกดเป็นหลัก  ถ้าคำที่ต้องการพิจารณามีตัวสะกดให้ดูที่ตัวสะกดไม่ต้องคำนึงถึงสระเสียงสั้นยาว  ดูว่าคำนั้นมีตัวสะกดหรือไม่  ถ้ามีให้ขีดเส้นใต้ตัวสะกด

                                ๒)  ดูว่าตัวสะกดนั้นเป็น  กบด  หรือไม่  ( แม่  กก  กบ  กด )  ถ้าใช่  คำนั้นจะเป็นคำตาย  ถ้าไม่ใช่  กบด คำนั้นจะเป็นคำเป็น

                                ๓)  ในกรณีที่ไม่มีตัวสะกด  ให้ดูว่าคำนั้นประสมด้วยสระเสียงสั้น  หรือเสียงยาว  ถ้าอายุสั้น

( เสียงสั้น )  ต้องตาย  ถ้าอายุยาว  ( เสียงยาว )  จึงเป็น

กลวิธีในการจำคำเป็น  คำตาย

คำตาย

คำเป็น

พวกที่เป็น  กบด  ต้องตายก่อน  (สะกดด้วยแม่  กก  กบ  กด)

อายุสั้นต้องตายตาม  (ประสมด้วยสระเสียงสั้น)

สะกดด้วยแม่  กง  กน  กม  เกย  เกอว

อายุยาวเป็น  (ประสมด้วยสระเสียงยาว)

                ให้จำในส่วนของคำตายให้ได้เพราะจำง่าย  คือ  กบด  ต้องตายก่อน  และอายุสั้นต้องตายตาม  กล่าวคือ  สะกดด้วยแม่

กก  กบ  กด  (กรณีมีตัวสะกด)  และประสมด้วยสระเสียงสั้น  (กรณีไม่มีตัวสะกด)  เป็นคำตาย  นอกเหนือจากนี้เป็นคำเป็นทั้งหมด

                ***  ดังนั้นสรุปได้ว่า  คำที่ประสมด้วยสระ  ำ    ใ -  ไ -  เ า  เป็นคำเป็น  เพราะนับว่ามีตัวสะกด ในมาตรา แม่กม  แม่เกย และ แม่เกอว ตามลำดับ

มาตราตัวสะกด แม่กก

มาตราตัวสะกด แม่กก 
พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่กก
คือ คำที่มีตัว ก ข ค คร ฆ เป็นตัวสะกด อ่านออกเสียง ก

ก ซอก ฉีก ฉุก ชอกช้ำ ทุกข์ พวกพ้อง จวัก จารึก เทือกเขา ปากกา สกปรก
ข เครื่องคิดเลข โทรเลข มุข ความสุข สุขสันต์
ค เทคโนโลยี เชื้อโรค ยุคใหม่ โชคชัย โชคดี วรรค บุคคล นาค
คร สมัคร สมัครใจ
ฆ เมฆ เฆมฝน ก้อนเมฆ เมฆหมอก




วีดีโอสอนเพิ่มเติม


การอ่านสะกดคำและแจกลูก

     การแจกลูก หมายถึง การเทียบเสียง เริ่มต้นจากการสอนให้จำและออกเสียงคำ แล้วนำรูปคำซึ่งเปรียบเสมือนแม่มากระจายหรือแจกลูก โดยการเปลี่ยนสระ หรือเปลี่ยนพยัญชนะต้น หรือเปลี่ยนพยัญชนะท้าย(ตัวสะกด)

การแจกลูกมีวิธีการดังนี้

1. ยึดพยัญชนะต้นเป็นหลัก แจกลูกโดยเปลี่ยนรูปสระ เช่น กะ กา กิ กี กึ กื กุ กู

2. ยึดสระเป็นหลัก แจกลูกโดยเปลี่ยนพยัญชนะต้น เช่น กา ขา คา งา ตา นา ทา วา

3. ยึดสระและตัวสะกดเป็นหลัก แจกลูกโดยเปลี่ยนพยัญชนะต้น เช่น กาง ขาง คาง งาง ตาง นาง ทาง วาง

4. ยึดพยัญชนะต้นและสระเป็นหลัก แจกลูกโดยเปลี่ยนตัวสะกด เช่น คาง คาน คาย คาว คาก คาด คาบ

            ข้อเสนอแนะวิธีการฝึกแจกลูก

1. ออกเสียงพยัญชนะก่อนออกเสียงสระแล้วออกเสียงคำไม่ว่าสระจะอยู่หน้า  หลัง  บน  ล่างหรือสระประสม เช่น   ก อา กา        ป ไอ ไป   เป็นต้น

2. ไม่ออกชื่อพยัญชนะ สระ เพราะจะทำให้เสียงไม่ต่อเนื่องกับเสียงคำที่อ่าน  เช่น ม ม้า สระ อา -  มา   ต้องอ่าน   ม อา มา  ยกเว้นสะกดคำยากและต้องการบอกให้ผู้ฟังออกเสียงสะกดตัวให้ถูกต้องตามต้องการ

3. การแจกลูกคำที่มีตัวสะกดและสระลดรูปหรือสระที่เปลี่ยนรูปไปนั้นสอนได้หลายวิธี เช่น วิธียึดรูปอักษรที่มองเห็นเพื่อให้อ่านได้เร็ว 

            คน       ออกเสียงว่า     ค คน

            แข็ง     ออกเสียงว่า     แขง ไม้ไต่คู้ แข็ง

    หรือใช้วิธีประสมอักษรหรือการกระจายอักษรตามหลักภาษาเป็นหลัก เช่น

            คน       ออกเสียงว่า     ค โอะ คน  (สระโอะลดรูป)

            แข็ง     ออกเสียงว่า      ข แอะ แข็ง (แอะ  เปลี่ยน  อะ  เป็นไม้ไต่คู้)

4.  ควรพยายามออกเสียงให้น้อยพยางค์ที่สุดเพราะการออกเสียงหลายพยางค์จะทำให้อ่านซ้ำแต่ถ้าอ่านคำเดิมไม่ได้ให้แจกลูกตั้งแต่ต้น ยกเว้นคำบางคำที่จะทำให้จำสับสน

เช่น คน   กับ  คอน ให้ออกเสียงแจกลูกคำ   คน  =  ค คน  ส่วน   คอน =  ค ออ น -  คอน

5. คำบางคำออกเสียงไม่ตรงตามรูปหรือเป็นคำยากสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด ก็ใช้วิธีสะกดคำหรือบอกคำอ่านให้ เช่น  จร    อ่านว่า  จอน  เป็นต้น

6. ถ้าจะให้จับหลักเกณฑ์การแจกลูกได้แม่นยำ ควรใช้พยัญชนะ สระทุกตัวและฝึกปากเปล่าทีละระดับเสียงเมื่อคล่องพอจึงควรฝึกปนกัน

7. การฝึกให้คล่องต้องฝึกปากเปล่าและแจกลูกให้เร็วที่สุด การฝึกปากเปล่าจะใช้คำที่มีหรือไม่มีความหมายก็ได้ แต่ถ้าฝึกให้เห็นคำควรเลือกฝึกเฉพาะคำที่มีความหมาย


8. การเขียนคำเน้นคำที่มีตามประมวลคำของแต่ละช่วงชั้น ส่วนคำนอกประมวลคำให้ใช้ประกอบการฝึกทักษะการอ่านและการแจกลูกเท่านั้น


                                                              วีดีโอสอนเพิ่มเติม

                                                      




ชนิดและหน้าที่ของประโยค

ความหมายและส่วนประกอบของประโยค
ความหมายของประโยค
ประโยค เกิดจากคำหลายๆคำ หรือวลีที่นำมาเรียงต่อกันอย่างเป็นระเบียบให้แต่ละคำมีความสัมพันธ์กัน มีใจความสมบูรณ์ แสดงให้รู้ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เช่น สมัครไปโรงเรียน ตำรวจจับคนร้าย เป็นต้น

ส่วนประกอบของประโยค
ประโยคหนึ่ง ๆ จะต้องมีภาคประธานและภาคแสดงเป็นหลัก และอาจมีคำขยายส่วนต่าง ๆ ได้

1. ภาคประธาน
ภาคประธานในประโยค คือ คำหรือกลุ่มคำที่ทำหน้าที่เป็นผู้กระทำ ผู้แสดงซึ่งเป็นส่วนสำคัญของประโยค ภาคประธานนี้ อาจมีบทขยายซึ่งเป็นคำหรือกลุ่มคำมาประกอบ เพื่อทำให้มีใจความชัดเจนยิ่งขึ้น

2. ภาคแสดง
ภาคแสดงในประโยค คือ คำหรือกลุ่มคำที่ประกอบไปด้วยบทกริยา บทกรรมและส่วนเติมเต็ม บทกรรมทำหน้าที่เป็นตัวกระทำหรือตัวแสดงของประธาน ส่วนบทกรรมทำหน้าที่เป็นผู้ถูกกระทำ และส่วนเติมเต็มทำหน้าที่เสริมใจความของประโยคให้สมบูรณ์ คือทำหน้าที่คล้ายบทกรรม แต่ไม่ใช้กรรม เพราะมิได้ถูกกระทำ

ชนิดของประโยค
ประโยคในภาษาไทยแบ่งเป็น 3 ชนิด ตามโครงสร้างการสื่อสารดังนี้

1. ประโยคความเดียว
ประโยคความเดียว คือ ประโยคที่มีข้อความหรือใจความเดียว ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เอกรรถประโยค เป็นประโยคที่มีภาคประโยคเพียงบทเดียว และมีภาคแสดงหรือกริยาสำคัญเพียงบทเดียว หากภาคประธานและภาคแสดงเพิ่มบทขยายเข้าไป ประโยคความเดียวนั้นก็จะเป็นประโยคความเดียวที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น


2. ประโยคความรวม
ประโยคความรวม คือ ประโยคที่รวมเอาโครงสร้างประโยคความเดียวตั้งแต่ 2 ประโยคขึ้นไปเข้าไว้ในประโยคเดียวกัน โดยมีคำเชื่อมหรือสันธานทำหน้าที่เชื่อมประโยคเหล่านั้นเข้าด้วยกัน ประโยคความรวมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อเนกกรรถประโยค ประโยคความรวมแบ่งใจความออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้

2.1 ประโยคที่มีความคล้อยตามกัน ประโยคความรวมชนิดนี้ประกอบด้วยประโยคเล็กตั้งแต่ 2 ประโยคขึ้นไป มีเนื้อความคล้อยตามกันในแง่ของความเป็นอยู่ เวลา และการกระทำ
ตัวอย่าง
ทรัพย์ และ สินเป็นลูกชายของพ่อค้าร้านสรรพพาณิชย์
ทั้ง ทรัพย์ และ สินเป็นนักเรียนโรงเรียนอาทรพิทยาคม
ทรัพย์เรียนจบโรงเรียนมัธยม แล้ว ก็ไปเรียนต่อที่วิทยาลัยอาชีวศึกษา
พอ สินเรียนจบโรงเรียนมัธยม แล้ว ก็ มาช่วยพ่อค้าขาย
สันธานที่ใช้ใน 4 ประโยค ได้แก่ และ, ทั้ง และ, แล้วก็, พอ แล้วก็

หมายเหตุ : คำ แล้วเป็นคำช่วยกริยา มิใช่สันธานโดยตรง

2.2 ประโยคที่มีความขัดแย้งกัน ประโยคความรวมชนิดนี้ ประกอบด้วยประโยคเล็ก 2 ประโยค มีเนื้อความที่แย้งกันหรือแตกต่างกันในการกระทำ หรือผลที่เกิดขึ้น
ตัวอย่าง
พี่ตีฆ้อง แต่ น้องตีตะโพน
ฉันเตือนเขาแล้ว แต่ เขาไม่เชื่อ

2.3 ประโยคที่มีความให้เลือก ประโยคความรวมชนิดนี้ ประกอบด้วยประโยคเล็ก 2 ประโยคและกำหนดให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ตัวอย่าง
ไปบอกนายกิจ หรือ นายก้องให้มานี่คนหนึ่ง
คุณชอบดนตรีไทย หรือ ดนตรีสากล

2.4 ประโยคที่มีความเป็นเหตุเป็นผลแก่กัน ประโยคความรวมชนิดนี้ประกอบด้วยประโยคเล็ก 2 ประโยค ประโยคแรกเป็นเหตุประโยคหลังเป็นผล
ตัวอย่าง
เขามีความเพียรมาก เพราะฉะนั้น เขา จึง ประสบความสำเร็จ
คุณสุดาไม่อิจฉาใคร เธอ จึง มีความสุขเสมอ

ข้อสังเกต
สันธานเป็นคำเชื่อมที่จ้ำเป็นต้องมีประโยคความรวม และจะต้องใช้ให้เหมาะสมกับเนื้อความในประโยค ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า สันธานเป็นเครื่องกำหนดหรือชี้บ่งว่าประโยคนั้นมีใจความแบบใด
สันธานบางคำประกอบด้วยคำสองคำ หรือสามคำเรียงอยู่ห่างกัน เช่น ฉะนั้น จึง, ทั้ง และ, แต่ ก็ สันธานชนิดนี้เรียกว่า สันธานคาบมักจะมีคำอื่นมาคั่นกลางอยู่จึงต้องสังเกตให้ดี
ประโยคเล็กที่เป็นประโยคความเดียวนั้น เมื่อแยกออกจากประโยคความรวมแล้ว ก็ยังสื่อความหมายเป็นที่เข้าใจได้


3. ประโยคความซ้อน
ประโยคความซ้อน คือ ประโยคที่มีใจความสำคัญเพียงใจความเดียว ประกอบด้วยประโยคความเดียวที่มีใจความสำคัญ เป็นประโยคหลัก (มุขยประโยค) และมีประโยคความเดียวที่มีใจความเป็นส่วนขยายส่วนใดส่วนหนึ่งของประโยคหลัก เป็นประโยคย่อยซ้อนอยู่ในประโยคหลัก (อนุประโยค) โดยทำหน้าที่แต่งหรือประกอบประโยคหลัก ประโยคความซ้อนนี้เดิม เรียกว่า สังกรประโยค
อนุประโยคหรือประโยคย่อยมี 3 ชนิด ทำหน้าที่ต่างกัน ดังต่อไปนี้

3.1 ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่แทนนาม (นามานุประโยค) อาจใช้เป็นบทประธานหรือบทกรรม หรือส่วนเติมเต็มก็ได้ ประโยคย่อยนี้เป็นประโยคความเดียวซ้อนอยู่ในประโยคหลักไม่ต้องอาศัยบทเชื่อมหรือคำเชื่อม

ตัวอย่างประโยคความซ้อนที่เป็นประโยคย่อยทำหน้าที่แทนนาม
คนทำดีย่อมได้รับผลดี
คน...ย่อมได้รับผลดี : ประโยคหลัก
คนทำดี : ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นบทประธาน
หน้าที่ของประโยค
ประโยคต่างๆ ที่ใช้ในการสื่อสารย่อมแสดงถึงเจตนาของผู้ส่งสาร เช่น บอกกล่าว เสนอแนะ อธิบาย ซักถาม ขอร้อง วิงวอน สั่งห้าม เป็นต้น หากจะแบ่งประโยคตามหน้าที่หรือลักษณะที่ใช้ในการสื่อสาร สามารถแบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ ดังนี้
1. บอกเล่าหรือแจ้งให้ทราบ
เป็นประโยคที่มีเนื้อความบอกเล่าบ่งชี้ให้เห็นว่า ประธานทำกริยา อะไร ที่ไหน อย่างไร และเมื่อไหร่ เช่น
- ฉันไปพบเขามาแล้ว
- เขาเป็นนักฟุตบอลทีมชาติ
2. ปฏิเสธ
เป็นประโยคมีเนื้อความปฏิเสธ จะมีคำว่า ไม่ ไม่ได้ หามิได้ มิใช่ ใช่ว่า ประกอบอยู่ด้วยเช่น
- เรา ไม่ได้ ส่งข่าวถึงกันนานแล้ว
- นั่น มิใช่ ความผิดของเธอ
3. ถามให้ตอบ
เป็นประโยคมีเนื้อความเป็นคำถาม จะมีคำว่า หรือ ไหม หรือไม่ ทำไม เมื่อไร ใคร อะไร ที่ไหน อย่างไร อยู่หน้าประโยคหรือท้ายประโยค เช่น
- เมื่อคืนคุณไป ที่ไหน มา
- เธอเห็นปากกาของฉัน ไหม
4. บังคับ ขอร้อง และชักชวน
เป็นประโยคที่มีเนื้อความเชิงบังคับ ขอร้อง และชักชวน โดยมีคำอนุภาค หรือ คำเสริมบอกเนื้อความของประโยค เช่น
- ห้าม เดินลัดสนาม

- กรุณา พูดเบา

มาตราตัวสะกด แม่กด

พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่กด
คือ คำที่มีตัว จ ช ชร ซ ด ต ตร ติ รถ รท ฎ ฏ ฐ ฒ ถ ท ธ ศ ษ ส เป็นตัวสะกด
และอ่านออกเสียง ด สะกด เช่น
จ ตรวจตรา สุจริต ระเห็จ พินิจ มัจฉา เกียจคร้าน ดุจ สมเด็จ กิจการ พูดเท็จ สำเร็จ เสร็จ
ช ราชาธิราช พระราชทาน ราชวัง บวช ประโยชน์ พาณิชน์ พระราชดำรัส ราชธานี
ชร เพชร แหวนเพชร
ซ ก๊าซ
ด มด วาด จังหวัด กัด โดด หงุดหงิด ปลดปลง ชนิด ทองหยอด ฉูดฉาด
ต จิตใจ อุตสาหกรรม สุภาษิต พันธุรัต สัตยา ชีวิต สังเกต เมตตา ประณีต อุตสาหะ จารีต
ตร ยุรยาตร เมตร วิจิตร พระเนตร บุตร มิตร บัตร บาตร ลิตร ฉัตร เกษตร
ติ ชาติ ธรรมขาติ ปฏิบัติ สมบัติ เกียรติยศ อัตโนมัติ ธงชาติ ประวัติ รสชาติ นิวัติ
ตุ เหตุ ธาตุ สาเหตุ เหตุผล
รถ สามารถ ปรารถนา
รท วันสารท สารท
ฎ กฎ กฎหมาย กฎเกณฑ์ มงกุฎ
ฏ ปรากฏ รกชัฏ
ฐ อิฐ อูฐ ประเสริฐ
ฒ วัฒนา วัฒนธรรม พัฒนา
ถ รถ รถไฟ
ท ประเภท วิทยุ วิทยาศาสตร์ ประสิทธิภาพ บทบาท ปราสาท บาท มรรยาท พัทลุง บริษัท
ธ พิโรธ อัธยาศัย โกรธ อยุธยา
ศ อากาศ เพ่งพิศ ทัศนศิลป์ ทิศ มหัศจรรย์ ประกาศ บรรยากาศ เพศ ปราศจาก ประเทศ
ษ โทษ พิษไข้ วิเศษ อังกฤษ เศษ อธิษฐาน ตรุษ พิเศษ ประดิษฐาน เศรษฐกิจ
ส โอกาส รหัส สวาท มธุรส วาสนา รสเปรี้ยว ตรัส โอรส ออสเตรเลีย

วีดีโอสอนเพิ่มเติม